วันอังคารที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

ATR - ATR72 Series


ATR 72

72
                  เอทีอาร์ 72 เป็นอากาศยานขนาดเล็ก แบบใช้เครื่องยนต์เทอร์โบพรอบ 2 ตัว มีพิสัยบินระยะใกล้ ผลิตโดยบริษัทร่วมทุนสัญชาติฝรั่งเศส-อิตาลี เอทีอาร์ โดยพัฒนามาจากรุ่น 42 ให้มีความจุผู้โดยสาร 64-74 ที่นั่ง โดยขยายความยาวเครื่องเพิ่มขึ้น 4.53 เมตร เป็น 27.2 เมตร และขยายความกว้างของปีกเพิ่มขึ้น 2.53 เมตร เป็น 27.1 เมตร รวมถึงการเพิ่มประสิทธิภาพเครื่องยนต์ และปริมาณความจุของถังเชื้อเพลิง เอทีอาร์ 72 เปิดตัวครั้งแรกเมื่อปีพ.ศ. 2529 และทดสอบการบินครั้งแรกเมื่อวันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2531 นับจากนั้นเป็นเวลา 1 ปีเต็ม ก็เริ่มให้บริการเชิงพาณิชย์เป็นครั้งแรกด้วยสายการบินฟินน์แอร์ ในวันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2532

                  ลูกค้าหลักของเอทีอาร์ 72 คือ อเมริกันอีเกิลแอร์ไลน์ ซึ่งมีเครื่องบินเอทีอาร์ 72 ประจำการอยู่ 39 ลำ รวมถึงแอร์เดคคาน ที่มีคำสั่งซื้ออยู่ 27 ลำ และคิงฟิชเชอร์แอร์ไลน์ ที่มีคำสั่งซื้ออยู่ 31 ลำ

72-200
                  72-200 เป็นรุ่นดั้งเดิม ใช้เครื่องยนต์แพรตแอนด์วิทนีย์ แคนาดา พีดับเบิลยู124บี 2400 แรงม้า มีพิสัยบินไกล 930 ไมล์ทะเล
72-212
                  72-210 เป็นรุ่นเปลี่ยนเครื่องยนต์ของ -200 เป็น พีดับเบิลยู127 2750 แรงม้าแทน และมีพิสัยบินไกล 820 ไมล์ทะเล สำหรับรุ่นนี้อเมริกันอีเกิลเรียกชื่อว่า 72-212

72-500
                  72-500 เป็นรุ่นที่เปลี่ยนเครื่องยนต์จาก -210 เป็นเครื่องยนต์ 6 ใบพัด พีดับเบิลยู127เอฟ และเพิ่มประสิทธิภาพในการบิน และปริมาณน้ำหนักบรรทุก มีพิสัยบินไกล 830 ไมล์ทะเล เดิมเรียกชื่อว่า -210เอ ส่วนอเมริกันอีเกิลเรียกว่า -212เอ
72-600 NokAir

                  72-600 เอทีอาร์ ได้เปิดตัวรุ่นที่ปรับเปลี่ยนเครื่อง 72 เป็นเครื่องบินขนส่งในงานฟาร์นโบโร เมื่อปี พ.ศ. 2545 และมีลูกค้าอย่างเฟดเอกซ์, ดีเอชแอล และยูพีเอส นอกจากนี้ยังมีรุ่นที่ปรับจาก -500 เป็นเครื่องบินส่วนตัว พร้อมกับการตกแต่งด้วยสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ และยังมีการปรับเปลี่ยนรุ่น -500 เป็นเครื่องบินตรวจการที่ใช้สำหรับทางการทหาร

                  ในปัจจุบันมี 3 สายการบินสัญชาติไทยที่ให้บริการด้วยเครื่องบินแบบ ATR72-600 ได้แก่ Bangkok Airways , Nok Air , Thai Lion Air ครับ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นเส้นทาง ภูมิภาค เช่น สมุย , หัวหิน , สโขทัย เป็นต้นครับ


ATR

เอทีอาร์ (ATR) 


ปิดท้ายด้วยบริษัทผู้ผลิต เอทีอาร์ (ATR) เป็นบริษัทผู้ผลิตเครื่องบินพาณิชย์สัญชาติอิตาลี-ฝรั่งเศส 
เกิดจากการร่วมทุนระหว่างแอโรสปาติอองของฝรั่งเศส (ปัจจุบันคือ อีเอดีเอส) 
กับแอริตาเลีย (ปัจจุบันคือ แอลีเนีย แอโรนอติกา) 
ในปี ค.ศ. 1981 มีเครื่องบินที่ผลิตออกมาสองรุ่น 
คือ เอทีอาร์ 42 และเอทีอาร์ 72

โดยเราสามารถสังเกตง่ายๆ ว่าเครื่องบินที่เราโดยสารอยู่นั้นเป็นของผู้ผลิต ATR หรือไม่นั้น 

เราสามารถสังเกตง่ายๆ คือ เครื่องบินลำไหนที่มีใบพัดนั้นแหละครับ เครื่องบิน ของ ATR

Boeing -BOEING 7xx Series-4 (BOEING 787 Dreamliner)

BOEING 787 Dreamliner

        โบอิง 787 ดรีมไลเนอร์ เป็นเครื่องบินโดยสารเจ็ตขนาดกลางลำตัวกว้างพิสัยไกล แบบใช้เครื่องยนต์คู่ ออกแบบโดยฝ่ายผลิตเครื่องบินพาณิชย์โบอิง รองรับผู้โดยสารได้ลำละ 210 ถึง 290 คน ขึ้นอยู่กับรุ่น 


        ชื่อเดิมของเครื่องบินที่กำหนดคือ 7E7 ก่อนเปลี่ยนชื่อเป็นอย่างในปัจจุบันในเดือนมกราคม พ.ศ. 2548 โบอิง 787 ลำแรกเผยโฉมในพิธีเปิดตัวเมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 ที่โรงงานประกอบเอเวอร์เร็ตต์ของโบอิง โดยที่มันได้กลายมาเป็นเครื่องบินโดยสารลำตัวกว้างที่ขายเร็วที่สุดในประวัติศาสตร์ โดยมียอดสั่งถึง 677 ลำ จนถึงเดือนตุลาคม พ.ศ. 2554 มีการสั่งซื้อโบอิง 787 จำนวน 797 ลำ เข้ามาจากผู้ให้บริการสายการบิน 57 ราย

        ในช่วงแรกนั้น โบอิง ต้องการจะพัฒนาเครื่องบินุร่นใหม่เพื่อทดแทน 767 ที่มียอดสั่งซื้อชะลอตัวลง เพื่อจะแข่งขันกับเครื่องบินแอร์บัส เอ 330-200 แต่ใช้เชื้อเพลิงในปริมาณที่เท่ากับ 767 และ เอ330 แต่ภายหลังเหตุการณ์วินาศกรรม 11 กันยายน พ.ศ. 2544และวิกฤติราคาน้ำมัน ทำให้ไม่เป็นที่ตอบรับมากนัก โบอิงจึงปรับเปลี่ยนโครงการมาพัฒนาเครื่องบินโดยสารโดยนำเครื่องเทคโนโลยีที่ได้จากการพัฒนาเครื่องบินความเร็วเหนือเสียงมาใช้แทน และใช้ชื่อว่า 7E7 (มีรหัสระหว่างการพัฒนาว่า Y2 ในโครงการโบอิงเยลโลสโตนโปรเจกต์)จนในวันที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2548 โบอิงได้เปลี่ยนชื่อรุ่นมาเป็น 787 และได้เปิดเผยแบบขั้นสุดท้ายในวันที่ 26 เมษายน ในปีเดียวกัน


        โบอิ้ง 787 ดรีมไลเนอร์นี้ ถือว่าเป็นเครื่องบินพาณิชย์ที่มีความทันสมัยที่สุด และยังประหยัดน้ำมันมาก ปัจจุบัน ยังไม่มีสายการบินสัญชาติไทยใช้เครื่องบินแบบโบอิ้ง 787 โดยที่การบินไทยกำลังจะได้รับมอบเครื่องบินแบบดังกล่าว ไม่เกินเดือน สิงหาคม พ.ศ. 2557 สำหรับใครที่อยากสัมผัสเครื่องบินพาณิชย์ที่ทันสมัยที่สุด ก็เตรียมหาเรื่องบินกันได้เลยครับ มีข่าวแว่วๆว่าจะทำการบินในเส้นทางกรุงเทพ-เชียงใหม่ เป็นเส้นทางแรก

Boeing -BOEING 7xx Series-4 (BOEING 777)


BOEING 777

               โบอิง 777 เป็นอากาศยานแบบลำตัวกว้าง ใช้เครื่องยนต์ 2 ตัว มีพิสัยบินระยะไกล ผลิตโดยฝ่ายผลิตเครื่องบินพาณิชย์โบอิง ซึ่งถือได้ว่าเป็นเครื่องบินเชิงพาณิชย์ลำแรกที่มีการออกแบบและพัฒนาบนคอมพิวเตอร์ทุกขั้นตอน โดยโปรแกรมเขียนภาพสามมิติ CATIA และมีสายการบินขนาดใหญ่อย่างยูไนเต็ดแอร์ไลน์, อเมริกันแอร์ไลน์, เดลต้า แอร์ไลน์, ออลนิปปอนแอร์เวย์, บริติช แอร์เวย์, เจแปนแอร์ไลน์, แควนตัส และคาเธย์แปซิฟิก มีส่วนร่วมในการพัฒนาเครื่องบินรุ่นนี้ ทำให้ 777 เป็นเครื่องบินที่ตรงตามความต้องการของลูกค้ามากที่สุด ทั้งนี้นับจนถึงพฤษภาคม พ.ศ. 2550 มีเพียงแควนตัสเพียงสายการบินเดียวที่มีส่วนร่วมในการออกแบบ แต่ยังไม่เคยสั่งซื้อเครื่อง 777 เลย

               เครื่องบินแบบ Boeing 777-300ER นั้นสามารถทำระยะการบินได้ไกลมากกว่ารุ่น 777-300 แบบเดิมถึงกว่า 34 เปอร์เซ็นต์ในน้ำหนักบรรทุกที่เท่าเทียมกัน และยังสามารถลดปริมาณการใช้เชื้อเพลิงได้มากกว่า 1.4 เปอรเซ็นต์อีกด้วย จุดสังเกตง่ายๆ ว่าเครื่องบินลำไหนเป็นแบบ 777-300 ธรรมดาหรือ 777-300ER นั้นให้สังเกตที่ Wingtips ปลายปีกที่มีเฉพาะรุ่น 300ER

               โบอิง 777 สามารถบรรทุกผู้โดยสารได้ 301 - 368 คน ในการจัดที่นั่งแบบสามชั้นบิน และมีพิสัยบิน 9,650 ถึง 17,450 กิโลเมตร (5,210 ถึง 9,420 ไมล์ทะเล) ซึ่งได้รับการบันทึกว่าเป็นเครื่องบินโดยสารที่มีพิสัยบินไกลที่สุดในโลก (รุ่น 200LR)

               คู่แข่งสำคัญของโบอิง 777 ก็คือ แอร์บัส เอ 330-300, แอร์บัส เอ 340 และบางรุ่นของแอร์บัส เอ 350 XWB ทั้งนี้คาดการณ์ว่ารุ่น 777 (และ 747) อาจจะถูกแทนที่ด้วยเครื่องบินตระกูลใหม่ Y3 โดยมีเทคโนโลยีเช่นเดียวกับ 787

               ซึ่งเครื่องบินแบบนี้ มีสายการบินสัญชาติไทย สายการบินเดียวที่ใช้ BOEING777 นั่นคือ การบินไทย ครับ

                  

Boeing -BOEING 7xx Series-3 (BOEING 767)


BOEING 767


             โบอิง 767 เป็นอากาศยานขนาดกลางแบบลำตัวกว้าง ใช้เครื่องยนต์ 2 ตัว ผลิตโดยฝ่ายผลิตเครื่องบินพาณิชย์โบอิง สามารถบรรทุกผู้โดยสารได้ 181 ถึง 245 คน เมื่อจัดที่นั่งแบบ 3 ชั้นบิน และมีพิสัยบิน 9,400 ถึง 12,200 กิโลเมตร (5,200 ถึง 6,600 ไมล์ทะเล)
               ส่วนควมคุมการบินของ 767 มีความคล้ายคลึงกับ 757 ซึ่งเป็นเครื่องบินลำคัวแคบ ที่เริ่มผลิตในช่วงเดียว ทำให้นักบินที่ได้รับใบอนุญาตให้ชับเครื่อง 757 ได้ ก็สามารถขับเครื่อง 767 ได้โดยปริยาย

              ปัจจุบันมีสายการบินสัญชาติไทยที่ใช้เครื่องบินแบบนี้ บินให้บริการ คือ Bussiness Air และ Asia Atlantic Airlines ซึ่งให้บริการแบบเช่าเหมาลำ

Boeing -BOEING 7xx Series-2 (BOEING 747)


BOEING 747


                โบอิง 747  เป็นอดีตเครื่องบินโดยสารที่ใหญ่ที่สุดในโลก ก่อนที่แอร์บัส เอ 380 จะแล้วเสร็จ โบอิง 747 ไม่มีเครื่องต้นแบบ บินเป็นครั้งแรกเมื่อเดือนเมษายน ปี ค.ศ. 1966 สายการบินแพนแอมเป็นสายการบินแรกในเส้นทางนิวยอร์ก-ลอนดอน เมื่อวันที่ 22 มกราคม ค.ศ. 1970

              ปัจจุบันมี 2 สายการบินสัญชาติไทยที่ใช้เครื่องบินแบบดังกล่าว ได้แก่ THAI Airways และ Orient Thai

Boeing -BOEING 7xx Series-1 (BOEING 737)


BOEING 737

             โบอิง 737 เป็นเครื่องบินโดยสารที่มีพิสัยบินระยะปานกลาง ลำตัวแคบ ที่ได้รับความนิยมมากที่สุด ผลิตโดยฝ่ายผลิตเครื่องบินพาณิชย์โบอิง โดยนับตั้งแต่วันที่ได้ทดสอบการบินครั้งแรกเมื่อ 9 เมษายน พ.ศ. 2510 เครื่องรุ่น 737 มียอดสั่งผลิตมากกว่า 8,000 ลำ และมียอดส่งมอบไปแล้วมากกว่า 6,000 ลำ ถือได้ว่าเป็นเครื่องบินโดยสารที่มียอดสั่งและส่งมอบสูงสุดตลอดกาล
รุ่น 100

             รุ่น 100 เป็นรุ่นแรกของ 737 เปิดตัวครั้งแรกในพ.ศ. 2508 โดยสายการบินลุฟต์ฮันซา ก่อนที่จะเริ่มการผลิตอย่างเป็นทางการในพ.ศ. 2510 และเริ่มให้บริการในพ.ศ. 2511 เครื่องรุ่น 100 เป็นเครื่องที่เล็กที่สุดในบรรดา 737 ทั้งหมด มียอดการส่งมอบเพียง 30 ลำก่อนการเลิกผลิต และต่อมาก็เริ่มถูกปลด ในปัจจุบัน ไม่มีการใช้เครื่องรุ่น 100 ขึ้นบินอีกแล้ว โดยองค์การสุดท้ายที่ใช้เครื่องรุ่น 100 คือ องค์การนาซา
รุ่น 200

             รุ่น 200 เป็นรุ่นพิเศษของรุ่น 100 โดยจะมีลำตัวเครื่องกว้างกว่า เปิดตัวครั้งแรกใน พ.ศ. 2508 โดยสายการบินยูไนเต็ดแอร์ไลน์ ก่อนจะเริ่มสายการผลิตใน พ.ศ. 2510 และเริ่มให้บริการใน พ.ศ. 2511 ในปัจจุบัน ยังมีธุรกิจพาณิชย์จำนวนมากที่ยังใช้เครื่องรุ่น 200 แต่ในด้านธุรกิจเครื่องบินโดยสาร รุ่น 200 เสียเปรียบรุ่นที่ใหม่กว่า เพราะรุ่น 200 ค่อนข้างจะสิ้นเปลืองเชื้อเพลิง และมีเสียงเครื่องยนต์รบกวนดัง เมื่อเทียบกับรุ่นใหม่ ดังนั้น ธุรกิจเครื่องบินโดยสารจึงลดการใช้รุ่น 200 ลงไป และในที่สุด รุ่น 200 ก็หายไปจากวงการเครื่องบินโดยสารใน พ.ศ. 2551 

             จนกระทั่งปีพ.ศ. 2523 โบอิงได้พัฒนาเครื่องยนต์ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น และส่งรุ่น 737 คลาสสิก ได้แก่ -300, -400 และ -500 และต่อมาในปีพ.ศ. 2536 โบอิงพัฒนารุ่น 737 เนกซ์ เจเนอเรชั่น ได้แก่ -600, -700, -800 และ -900 โดยเพิ่มขนาดของตัวเครื่อง และประสิทธิภาพการบินให้มากขึ้นเพื่อตอบโต้เอ320รุ่นใหม่ของแอร์บัส ที่เข้ามาแย่งส่วนแบ่งการตลาดไป
รุ่น 300
             รุ่น 300 เริ่มให้บริการครั้งแรกใน พ.ศ. 2524 โดยสายการบินยูเอสแอร์เวย์ และ เซาธ์เวสต์ แอร์ไลน์ และผลิตต่อไปจนถึง พ.ศ. 2542 โดยสายการบินสุดท้ายที่สั่งซื้อรุ่น 300 คือ แอร์นิวซีแลนด์

รุ่น 400
             รุ่น 400 เปิดตัวในพ.ศ. 2528 ในช่วงแรกออกแบบมาเพื่อสายการบินแบบเช่าเหมาลำ สายการบิน Piedmot Airlines เป็นสายการบินแรกที่สั่งซื้อเครื่องรุ่น 400 พร้อมกันถึง 25 ลำ และออกให้บริการครั้งแรกในพ.ศ. 2531 และเครื่องบินรุ่น 400 ลำสุดท้ายถูกส่งมอบให้สายการบิน Czech Airlines ในพ.ศ. 2543 
รุ่น 500

             เครื่องรุ่น 500 เปิดตัวครั้งแรกใน พ.ศ. 2530 โดยสายการบิน Southwest Airlines และออกให้บริการครั้งแรกใน พ.ศ. 2533 รุ่น 500 ออกแบบมาเพื่อทดแทนรุ่น 200 โดยตรง มีประสิทธิภาพและประหยัดน้ำมันกว่ารุ่น 200 เครื่อง
รุ่น 600

             รุ่น 600 เปิดตัวครั้งแรกใน พ.ศ. 2538 โดยสายการบิน Scandinavian Airlines System และเปิดให้บริการในพ.ศ. 2541 และยังผลิตอยู่จนถึงปัจจุบัน
รุ่น 700

             รุ่น 700 เป็นรุ่นแรกของ 737 Next Generation เปิดตัวใน พ.ศ. 2536 เปิดให้บริการครั้งแรกใน พ.ศ. 2541 โดยสายการบิน Southwest Airlines

รุ่น 800

             รุ่น 800 เปิดตัวใน พ.ศ. 2537 โดยสายการบิน Hapeg-Lloyd Flug เปิดให้บริการใน พ.ศ. 2541
รุ่น 900

             รุ่น 900 เป็นรุ่นที่ลำตัวเครื่องยาวที่สุด และทรงพลังมากที่สุด เปิดตัวเมื่อ พ.ศ. 2540 โดยสายการบิน Alaska Airlines และได้รับมอบเครื่องบินใน พ.ศ. 2544

             ขณะนี้โบอิงกำลังศึกษาวิจัยเครื่องต้นแบบใหม่ที่เพื่อทดแทนเครื่อง 737 (โดยใช้เรียกว่า Y1/737RS) ที่จะออกตามหลัง 787 ซึ่งเป็นรุ่นหนึ่งในโครงการทดแทนรุ่นปัจจุบัน

BOEING


BOEING

โลโกของบริษัทโบอิง
มาต่อกันที่บริษัทผู้ผลิตเครื่องยนต์อากาศยานและยุทโธปกรณ์ รายที่สองเลยนะครับ
โดย BOEING มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่ชิคาโก รัฐอิลลินอยส์ สหรัฐอเมริกา
โบอิงนับเป็นบริษัทผู้ผลิตเครื่องบินที่มีรายได้มากที่สุดในโลก
และเป็นผู้ผลิตยุทโธปกรณ์อันดับสองของโลก


โดยเราสามารถสังเกตง่ายๆ ว่าเครื่องบินที่เราโดยสารอยู่นั้นเป็นของผู้ผลิต BOEING หรือไม่นั้น 
เราสามารถสังเกตง่ายๆจาก รุ่นของเครื่องบินจะมีการนำ BOEING ไปนำหน้ารุ่นนั้นๆ นั่นเองครับ

Airbus-A3xx Series-6 (AIRBUS A380)


AIRBUS A380


                      เครื่องบิน แอร์บัส A380 เป็นเครื่องบินห้องโดยสารสองชั้นขนาดใหญ่ ผลิตโดยแอร์บัสแอสอาแอส เครื่องบินสี่เครื่องยนต์ลำนี้สามารถบรรทุกผู้โดยสารได้สูงสุดถึง 800 คน หรือ 500 คนถ้าวางที่นั่งแบบ 3 ชั้นผู้โดยสารตามเครื่องบินพาณิชย์ปกติ เครื่องบินรุ่นนี้ได้ผ่านกำหนดการทดสอบการบินเที่ยวแรกในวันที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2548 โดยบินขึ้นจากเมืองตูลูส ประเทศฝรั่งเศส และได้ส่งมอบให้สิงคโปร์แอร์ไลน์เป็นสายการบินแรกเมื่อวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2550

                     A380 รู้จักมาเป็นเวลาหลายปีในขณะที่มีแอร์บัสมีแผนการผลิต แอร์บัส A3XX โดยจะเป็นเครื่องบินพาณิชย์ที่ใหญ่ที่สุดในโลกเมื่อเริ่มให้บริการ ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2550

                       เครื่องบินแอร์บัสรุ่นใหม่นี้  ในเบื้องต้นจะผลิตขาย  2 แบบด้วยกัน คือ A380-800  เป็นแบบ 2 ชั้นสมบูรณ์แบบ สามารถจุผู้โดยสารได้ 555 คน ในชั้นหนึ่งและชั้นธุรกิจ หรือถึง 800 คน ในชั้นประหยัด ในระยะการบิน 8,000 ไมล์ทะเล (14,800 กิโลเมตร) และแบบA380-800F เป็นเครื่องบินสำหรับบรรทุกโดยเฉพาะ บรรทุกสัมภาระได้ 150 ตัน สำหรับพิสัยการบินระยะ 5,600 ไมล์ (10,400 กิโลเมตร)

                         ปัจจุบันในประเทศไทยมียังมีเพียงแค่สายการบินเดียวเท่านั้น ที่ใช้เครื่องบินแบบนี้  คือ การบินไทย และได้รับนามพระราชทานว่า ศรีรัตนะ
                    โดยการสังเกตที่ง่ายที่สุดคือ การสังเกตขนาด และล้อ ขณะที่กางออกเพราะจะมีมากมาย ถึง 22 ล้อเลย

Airbus-A3xx Series-5 (AIRBUS A350)



AIRBUS A350


                แอร์บัส เอ 350 เป็นอากาศยานขนาดกลางลำตัวกว้าง แบบใช้เครื่องยนต์ 2 ตัว มีพิสัยบินระยะไกล พัฒนาโดยแอร์บัส เอส.อาร์.เอส. เอ350 มี 2 รุ่น คือ -800 สามารถจุผู้โดยสารได้ 253 ที่นั่ง ในการจัดแบบ 3 ชั้นบิน มีพิสัยบิน 16,300 กิโลเมตร (8,800 ไมล์ทะเล) และรุ่น -900 สามารถจุผู้โดยสารได้ 300 ที่นั่ง ในการจัดแบบ 3 ชั้นบิน มีพิสัยบิน 13,890 กิโลเมตร (7,500 ไมล์ทะเล)และมีการพัฒนาต่อ โดยเครื่องรุ่นใหม่จะมีลำตัวที่กว้างกว่าเดิม สามารถจุผู้โดยสารได้ 9 คนต่อแถว สำหรับที่นั่งชั้นประหยัด เมื่อเทียบกับ 787 ที่จุได้ 8 - 9 คนต่อแถว และ 777 ที่จุได้ 9 - 10 คนต่อแถว และแอร์บัสได้เปิดตัวเครื่องรุ่นใหม่ในงาน ฟาร์นโบโรแอร์โชว์ เมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2549 และเรียกชื่อรุ่นว่า เอ 350 XWB (มาจาก Xtra Wide Body) 


                  เครื่องรุ่นใหม่นี้ได้รับการสนองตอบอย่างดี โดยมีสิงคโปร์แอร์ไลน์ ที่ส่งคำสั่งซื้อเพียง 4 วันหลังจากการเปิดตัว ถึง 20 ลำ และพิจารณาไว้อีก 20 ลำ ทั้งนี้แอร์บัสจะออก เอ350 ออกมา 3 รุ่น คือ -900 ซึ่งจะเป็นุร่นแรกของ 350 จะเริ่มให้บริการในปีพ.ศ. 2556 จากนั้นจึงจะออกรุ่น -800 และ -1000 ภายหลังประมาณ 12 เดือน และ 24 เดือน ตามลำดับ

                  โดยการสังเกตสามารถทำได้โดยสังเกตบริเวณของกระจกหน้าแบบใหม่คล้ายกับการใส่แว่นตาให้กับเครื่องบิน


และในส่วนของ Winglet ค่อนข้างสวยงามและทันสมัย


Airbus-A3xx Series-4 (AIRBUS A340)


AIRBUS A340


           

           แอร์บัส เอ 340 (Airbus A340) เป็นเครื่องบินพาณิชย์ที่มีลักษณะพิเศษ คือลำตัวที่กว้าง ทำให้สามารถจัดสรรที่นั่งสำหรับผู้โดยสารได้มากสูงสุดประมาณ 330 ที่ และเป็นเครื่องบินพาณิชย์ที่มีระยะทางการบินอย่างต่อเนื่องมากที่สุดในปัจจุบันคือ 15,742 กิโลเมตร ทั้งนี้ระยะทางการบินต่อเนื่องสูงสุดขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ เช่น จำนวนนำหนักที่บรรทุก อัตราความเร็ว และรุ่นของ A340 ที่มีอยู่ 6 รุ่นคือ 200/300/300E/500/600 และ 8000

         A340 เป็นเครื่องบินที่มีชั้นโดยสาร 1 ชั้น มีเครื่องยนต์ 4 เครื่องยนต์อยู่ที่ปีกทั้งสองข้าง ข้างละ 2 เครื่องยนต์ ซึ่งทำให้ประสิทธิภาพในการบินสูงขึ้น เนื่องจากเครื่องยนต์ 4 เครื่องสามารถให้เครื่องบินบินขึ้นได้ โดยใช้พลังงานน้อยกว่าเครื่องบินแบบที่มีเครื่องยนต์เพียงสองเครื่อง เช่น A320

           ปัจจุบันในประเทศไทย มีสายการบินสองสายการบินที่ใช้เครื่องรุ่นนี้ได้แก่ THAI Airways และ Chaba Air ซึ่งเครื่องบินรุ่นนี้ถือว่าไม่เป็นที่นิยมของสายการบินต่างๆเนื่องจาก สูบน้ำมันมากๆ และไม่คุ้มที่จะมาใช้ทำการพาณิชย์ ตอนนี้การบินไทยก็กำลังทยอยขายเครื่องบินรุ่นนี้ไป ส่วนชบาแอร์ก็ยังไม่ได้ทำการขึ้นบินแต่อย่างใด

          โดยการสังเกตเครื่องบินรุ่นนี้ ง่ายที่สุดคือการสังเกต เครื่องยนต์ ครับ เพราะรุ่นนี้จะมีเครื่องยนต์ ทั้งหมด 4 เครื่องยนต์

Airbus-A3xx Series-3 (AIRBUS A330)


AIRBUS A330

 
                    แอร์บัส  เอ 330 เป็นเครื่องบินลำตัวกว้าง  มีความจุมาก  เป็นอากาศยานที่มีพิสัยบินระยะปานกลางถึงระยะไกล โครงสร้างของ แอร์บัส 330 ใช้เทคโนโลยีใหม่ล่าสุดในการออกแบบโครงสร้าง ใช้วัสดุผสมยุคใหม่และอัลลอยด์ที่มีความแข็งแรงและน้ำหนักเบาเป็นพิเศษมาประกอบเป็นตัวโครงสร้างและพื้นผิว ซึ่งสามารถลดน้ำหนักของตัวเครื่องลงได้มาก ลดค่าบำรุงรักษาและยังประหยัดน้ำมัน การออกแบบปีกที่มีประสิทธิภาพสูง ทำให้ได้สมรรถนะที่ดีทั้งขณะที่บินขึ้นและร่อนลงจอด และยังทำความเร็วได้เหมาะสมกับอัตตราบรรทุกและประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิง 
                    ปัจจุบันในประเทศไทยมีสายการบินสองสายการบินที่ใช้เครื่องรุ่นนี้ได้แก่ THAI AIrways และ Thai AirAsia X ที่พึ่งมาเปิดให้บริการล่าสุดในประเทศไทย
               โดยลักษณะโดยทั่วไปคล้าย A300 เหมือนกัน  ทั้งประตูก็มี 4 บานและตำแหน่งเดียวกันกับ A300 แต่ละตัวจะยาวกว่า A300 จุดที่สังเกตง่ายที่สุดสำหรับ A330 นั้นคือส่วนของ winglet เพราะ winglet ของ A330 จะเป็นลักษณะหักปลายขึ้นเป็นมุมชัดเจน  ทำให้เราสามารถเห็นแล้วจะมองออกทันทีว่าเป็น A330 ครับ

Airbus-A3xx Series-2 (AIRBUS A320 Family)



AIRBUS A320



             แอร์บัส เอ 320 เป็นอากาศยานที่มีพิสัยบินระยะใกล้ถึงปานกลาง เริ่มให้บริการครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2531 โดยแอร์ฟรานซ์ และยังคงได้รับความนิยมจนถึงปัจจุบัน ด้วยยอดการผลิตมากกว่า 3,000 ลำ ทำให้ เอ 320 เป็นเครื่องบินพาณิชย์ที่มีการผลิตมากเป็นอันดับสอง เป็นรองคู่แข่งอย่างโบอิง 737

             ปัจจุบันในประเทศไทย  มีสายการบินเป็นจำนวนมาก นิยมใช้เครื่องบินแบบนี้   ได้แก่ THAI Smile , Thai AirAsia , Bangkok Airways , R Airlines และ U Airlines โดยรุน่นนี้ถือว่าเป็นที่นิยมมากที่สุดในโลก สำหรับสายการบินโลวคอสและกำลังแข่งขันอยู่กับ BOEING 737

             โดยสังเกตได้จากประตูข้างละ 4 บาน คือมีประตูหน้าและหลังอย่างละ 1 บาน   ส่วนอีก 2 บานนั้น  สำหรับ A320 จะสังเกตได้ว่าประตูทั้ง 2 จะอยู่ติดกันที่กลางลำตัวบริเวณบนปีกครับ (ตำแหน่งอยู่ภายในปีก)  ซึ่งเป็นลักษณะเด่นของรุ่นนี้ครับ


ซึ่ง แอร์บัส เอ 320 นั้นมีการปรับปรุงอยู่หลายครั้งเพื่อเอื้อต่อการใช้งาน จึงมีรุ่นใน ซีรีย์ เอ 320 มากมาย ดังนี้

เอ 320/เอ 321 Sharklet

Sharklet เป็นอุปกรณ์ปลายปีก (wing tip) ที่แอร์บัส ได้ออกแบบใหม่สำหรับเครื่องบินรุ่น เอ320/เอ321 ที่จะช่วยลดการไหลเวียนของอากาศที่มีแรงดันสูงใต้ปีกไปยังพื้นที่เหนือปีกที่อากาศมีแรงดันตํ่ากว่า และยังช่วยลดแรงดึงที่ปลายปีกของเครื่องบิน ซึ่งจะช่วยให้ประหยัดการใช้เชื้อเพลิงลงถึงร้อยละ 4 จาก wing tip แบบเดิม หรือทำให้เครื่องบินมีพิสัยบินได้ไกลขึ้นราว 100 ไมล์ทะเลหรือบรรทุกน้ำหนักได้มากขึ้นอีก 450 กิโลกรัม

เอ 319

ปรับปรุงจาก 320 โดยเปลี่ยนความยาวลำตัวเครื่องให้สั้นลง แต่ใช้ปริมาณเชื้อเพลิงเท่ากับ 320-200 ทำให้บรรทุกผู้โดยสารได้ 124 คน และมีพิสัยบินประมาณ 7,200 กิโลเมตร (3,900 ไมล์ทะเล) โดยทั้ง 320 และ 319 ต่างก็ได้รับความนิยมมากกว่ารุ่นอื่นๆในตระกูล 320 โดยมีลูกค้าสำคัญอย่างสายการบินตุ้นทุนต่ำ ซึ่งจัดที่นั่งใหม่เป็น 156 ที่นั่ง ในการจัดแบบชั้นประหยัดอย่างเดียว ให้บริการอยู่กว่า 120 ลำ

เอ 319CJ

เป็นการปรับเปลี่ยนให้เป็นเครื่องบินส่วนตัว และเพิ่มถังเชื้อเพลิงแทนที่ห้องสินค้าทำให้เพิ่มพิสัยบินเป็น 12,000 กิโลเมตร (6,500 ไมล์ทะเล) และแม้ต้องการจะปรับมาใช้เป็นเครื่องบินโดยสารก็สามารถปรับเปลี่ยนมาเป็น เอ 319 แบบมาตรฐานได้ดังเดิม ในบางครั้งเครื่องบินรุ่นนี้จะถูกเรียกว่า ACJ หรือ แอร์บัส คอร์ปอเรต เจ็ต

เอ 319LR

โดยรุ่นนี้จะจัดที่นั่งเป็นชั่นธุรกิจทั้งหมด ประมาณ 48 ที่นั่ง มีพิสัยบินประมาณ 8,300 กิโลเมตร (4,500 ไมล์ทะเล) โดยมีรุ่นที่คล้ายกันอย่าง 737-700ER เป็นคู่แข่งสำคัญ

เอ 321
ปรับปรุงจาก 320 โดยเพิ่มความยาวลำตัวเครื่อง และเพิ่มขนาดพื้นที่ของปีก เพื่อแข่งขันกับ 737-900/-900ER และ757 เพียงแต่ 321 มีพิสัยไม่เพียงพอสำคัญเที่ยวบินข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกอย่าง 757 และ321-100 สามารถจุผู้โดยสารได้ 186 ที่นั่ง มีพิสัยบิน 4,300 กิโลเมตร (2,300 ไมล์ทะเล) 321-200 สามารถจุผู้โดยสารได้ 186 ที่นั่ง แต่เพิ่มความจุเชื้อเพลิง ทำให้มีพิสัยบินไกลมากขึ้นเป็น 5,500 กิโลเมตร (3,000 ไมล์ทะเล)

เอ 318
รู้จักกันในชื่อ มินิแอร์บัส เนื่องจากเป็นรุ่นที่มีขนาดเล็กที่สุดของตระกูล 320 โดยมีความยาวสั้นกว่า 319 อยู่ 6 เมตร และหนักน้อยกว่าอยู่ 14 ตัน ทำให้สามารถจุผู้โดยสาร 109 ที่นั่ง ในการจัดแบบ 2 ชั้นบิน มีพิสัยบินประมาณ 2,750 ถึง 6,000 กิโลเมตร โดยสามารถแข่งขันได้กับ 737-600 และดักลาส ดีซี-9 และโบอิงก็ได้พัฒนารุ่น โบอิง 717 มาแข่งเช่นกัน

เอ 318 อีลีท

ในวันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2548 แอร์บัสได้เปิดตัวเครื่องบินส่วนตัว เอ 318 อีลีท เพื่อแข่งขันในตลาดพิสัยบินปานกลาง จุผู้โดยสารประมาณ 14 - 18 ที่นั่ง

สรุปแล้ว เครื่องบินซีรีย์ A320 Family